Friday, May 16, 2008

คุณภาพสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาประเทศ

เมืองไทย ตื่นตัวกันพอสมควรในเรื่องการอนุรักษ์

อนุรักษ์ป่า หลังสิ้นเสียงปืนของสืบ นาคะเสถียร
รักษ์เจ้าพระยากับตาวิเศษ
ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
และที่กำลังตื่นตัวคือ รณรงค์ลดโลกร้อน
เพื่อนผมหลายคนใน MA พร้อมใจไม่ใส่ถุง
หมายถึง ถุงพลาสติก
(แต่แถวบ้านผม เค้าเรียกว่า ถุงยางจริงๆนะ)

พฤติกรรมหรือการรณรงค์ให้คนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อยู่บ้าง

จะลองอาศัย แนวคิด ของ Kutznets ที่นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง รายได้ประชาชาติกับการกระจายรายได้


เราเรียกว่า Kutznets' Curve (KC)
โดย ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็น ตัว ยู คว่ำ แกนตั้งเป็น Inequality แกนนอน เป็น รายได้ประชาชาติ (income per capita)

ก็พบว่า เมื่อ รายได้ประชาชาติสูงขึ้น หรือ พูดให้ง่ายคือ คนทั้งประเทศรวยขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็จะค่อยสูงขึ้น แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง (ไม่รู้ว่าจุดไหน) ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็จะค่อยๆคลี่คลายลงไป

นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ก็เลยนำเอาแนวคิดของ KC มาปรับเป็น
EKC หรือ Environmental Kuznets' Curve

เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ กับ คุณภาพสิ่งแวดล้อม
(มองอีกนัยหนึ่งก็คือ การพัฒนาประเทศกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม)
พูดกันภาษาชาวบ้านก็คือ เมื่อเริ่มต้นการพัฒนา มนุษย์ก็จะนำเอาทรัพยากรมาใช้ จนคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงไป

แต่พอคนในปรเทศเริ่มมีอันจะกิน ก็จะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ดังนั้นคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงดีขึ้น เมื่อผ่านจุดๆหนึ่งไป (จุดวิกฤต)

กรณีเมืองไทย ถ้าไม่พิจารณา KEC คือดูแต่สถานการณ์โดยรวม ก็พอจะอนุมานได้อย่างคร่าวๆ ว่า น่าจะอยู่ช่วงจุดวิกฤต แล้ว มีแนวโน้มที่คนจะหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แต่ถ้าลองไปดูอีกมุมโลก
"การพัฒนาประเทศกับสิ่งแวดล้อมไปด้วยกันไม่ได้"
การลาออกของ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของบราซิล สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการจัดการกับปํญหาสิ่งแวดล้อม และการประสานประโยชน์ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย


Maria Osmarina Marina Silva Vaz de Lima
สุภาพสตรีผู้เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 1958 (2501) โตมาในครอบครัวชนชั้นแรงงาน ครอบครัวมีอาชีพกรีดยาง
ตอนเธออายุ 14 เธอรู้แค่ บวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น เพราะว่าแถวบ้านไม่มีโรงเรียน
แต่เธอก็บากบั่นจนเรียนจบปริญญา ในปี 1985 (2528) สาขาประวัติศาสตร์จาก Federal University of Acre

สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เธอมีแนวคิดไปทางมาร์กซิส เข้าร่วมกับพรรคแรงงาน
เธอได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิก และมีบทบาทในการรณรงค์ให้รักษาป่าอเมซอน อยู่โดยตลอด
จนปี 2547 เธอได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ลูล่า ดาซิลวา ให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม
เธอผลักดันมาตรการและโครงการต่างๆ ในการรักษาป่าอเมซอน รวมถึงการใช้ทรัพยากรอื่นๆ

วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 เธอประกาศใช้แผน Sustainable Amazon Plan

(ผมก็ไม่รุ้ว่า หน้าตาแผนของเธอ เป็นยังไง)

หลังจากที่เธอประกาศ ใช้แผนนี้ไปได้ 5 วัน
13 พ.ค. 2551 เธอก็ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุผลว่า "เธอไม่ได้รับการสนับสนุนนโยบายสิ่งแวดล้อม"

หลังจาการลาออกของเธอ ผู้คนออกมาแซ่ซร้องสรรเสริญที่เธอลาออก เพราะว่าการที่เธอลาออกเท่ากับแผนล้ม ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น (เป็นซะอย่างนั้น)

สถานการณ์ที่บราซิล ก็สะท้อนว่า ประชาชนของบราซิลอาจจะยังอยู่ในช่วงที่ไม่มีอะไรกิน ไม่มีอะไรจะต้องถึงท้อง ยังต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากป่าอเมซอนอย่างเต็มที่เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานก็เป็นได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสนใจสิ่งแวดล้อมนะครับ


0 Comments:

Post a Comment

<< Home