Thursday, January 24, 2008

เงินกับการเลือกตั้ง

23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ของประเทศสยาม
หลังจากวันนั้นจนถึงวันนี้

กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรอง ทั่นส.ส. ผู้ทรงเกียรติไปแล้ว 477 คน เลือกอีกที่ยังต้องเลือกใหม่ 3 คน จะครบ 480 คน

ในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา ศุนย์วิจัียกสิกรไทย ได้คาดการณ์ว่า จะมีเงินสะพัดประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยพิจารณาจากความเข้มข้นในการแข่งขันของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งแต่ในแต่ละเขต รวมไปถึงจำนวนผู้สมัคร ส.ส.หน้าใหม่ที่มีความพร้อมทั้งเงินทุนและกำลังกายก็ถือว่าเยอะพอสมควร

ผมก็ไม่รุ้ว่าทางนั้น เค้าคิดคำนวณแบบใด

ผมลองคิดกันเล่นๆ ผู้สมัครคนนึงใช้เงินไม่เิกิน 1.5 ล้านบาท ตามกฎของกกต.

แบบสัดส่วนมี 1,260 คน คิดแล้ว ก็มีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,890 ล้านบาท
แบบแบ่งเขตมี 3,892 คน คิดเป็นเงินประัมาณ 5,838 ล้านบาท
รวมเป็น 7,728 ล้านบาท

ซึ่งถือเป็นการประเมินขั้นต่ำ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อผู้สมัคร น่าจะเยอะกว่า 1.5 ล้านบาท แน่นอน

ถามว่าเงินที่ใช้จ่ายตกในมือใครบ้าง

ที่เห็นและได้แน่ๆ คือบริษัทหรือโรงพิมพ์ นั่นเอง
ต่อมาจะเป็น พวกหัวคะแนน หรือ ที่เรียกกันโดยนิคเนมว่า มือปืนรับจ้าง

มือปืนรับจ้างพวกนี้ ไม่ได้ เอาปืนไปไล่ฆ่าใคร แต่จะเอาเงิน(กระสุน)ที่ได้จากผู้สมัคร ไปแจกให้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง หรือ ศัพท์ในวงการ เรียกว่า "ยิง" โดยจะมีการตกลงกับ ผู้สมัครว่า หมู่บ้านหรือเขตที่หัวคะแนนรับผิดชอบนั้น มีเสียงอยู่เท่าไร จะต้องใช้กระสุนเท่าไร ซึ่งหัวคะแนนก็จะได้รับค่าจ้างเป็นเงินตอบแทน อาจจะก่อนหรือหลังเลือกตั้ง

หากว่า "ยิงเข้า" --> ได้คะแนนตามที่คาดไว้ ก็อาจจะมีบำเหน็จรางวัล
หากว่า "ยิงไม่เข้า" --> หัวคะแนน ก็อาจจะต้องโดนทำโทษอะไรบางอย่างสุดแท้แต่จะตกลงกัน หรืออาจจะไม่โดนอะไรเลย

สุดท้ายปลายทางคือ ชาวบ้าน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะได้เงินจากที่หัวคะแนนเอามาแจกให้ อาจจะไม่ได้รับเงินจากผู้สมัครคนเดียวก็ได้ ฉะนั้นผู้มีสิทธิ์บางคนอาจจะได้เงินจากการเลือกตั้งครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจเลือกตั้งระดัีบประเทศ หรือระดับท้องถิ่น อบต. อบจ. คนละ 400-1000 บาท

การแจกเงินแต่ละครั้งนั้น รอดหูรอดตา เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหรือไม่ คำตอบคือ ไม่
เป็นไปไม่ได้ ที่เจ้าหน้าที่ทั้งผ่ายปกครองระดับท้องถิ่น จะไม่รับรู้
เพราะทันที ที่เงินถูกแจกไป ข่าวก็จะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
แต่...เจ้าหน้าที่ฯ ก็อาจจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะว่าหลักฐานไม่มี และป่วยการที่จะไปตามไล่จับ คิดเสียว่าให้ชาวบ้านได้เงินคืนจากนักการเมืองบ้าง เพราะเงินที่ชาวบ้าน ส่วนหนึ่ง ก็คือเงินที่นักการเมืองไปฉ้อราษฏร์มานั่นเอง

ก็กลายเป็น เรื่องสมยอม ไม่มีโจทก์ไม่มีจำเลย ผู้เสียหายก็ยอมให้ข่มขืนแต่โดยดี เพราะได้ค่าตอบแทน ก็ไม่รู้จะไปดำเนินคดีกับใคร

คิดแล้วก็ให้ตลกนัก

ตลบกลับไปดู ประเทศมหามิตรอย่าง สหรัฐอเมริการ ที่กำลังรณรงค์หาตัวแทนพรรคเพื่อชิงตำแหน่งประมุขของชาติกันบ้าง ว่าใช้เงินกันไปเท่าไร

มาดู ที่ เดโมเเครต กันก่อน

ณ ตอนนี้

วุฒิสมาชิกผิวสี นายบารัค โอบาม่า ได้เิงินเพื่อการรณรงค์ครั้งนี้มาประมาณ 80 ล้านเหรียญดอลล่าร์ แต่ว่าใช้ไปแล้ว ประมาณ 44 ล้านเหรียญฯ ทั้งๆที่ยังไม่ถึงครึ่งทางด้วยซ้ำ

ส่วนคู่แข่งคนสำคัญ อบ่าง นางฮิลารี่ คลินตัน นั้น ได้เิงินมาประมาณ 90 ล้านเหรียญฯ แต่ใช้ไปน้อยกว่านายโอบาม่า คือ 40 ล้านเหรียญฯ

ส่วนคู่แข่งคนอื่น วุฒิสมาชิกจอห์น เอดเวิร์ด ใช้เงินไปแล้วเกือบ 18 ล้านเหรียญฯ
ส่วนคนอื่นๆ ใช้เงินรวมกันราวๆ 30 ล้านเหรียญฯ

สรุปแล้วผู้เสนอตัวของพรรคเดโมแครต ใช้เิงินไปแล้วกว่า 132 ล้านเหรียญฯ หรือคิดเป็นเงินไทยคร่าวๆเอา 33 คูณ ก็จะออกมาที่ 4,356 ล้านบาท

ส่วนทางฝั่งรีพับลิกันนั้น นายมิต รอมนีย์ ใช้เงินไปมากสุดคือรา้วๆ 53 ล้านเหรียญฯ รองลงมาเป็นอดีตนายกเทศมนตรีมหานครนิวยอร์ก นายรูดี้ จูเลียนี่ ใชเ้งินไปแล้ว ราวๆ 30 ล้านเหรียญฯ ส่วนตัวเต็งอีกคนคือ นายแมคเคน ใช้เิงินไปแ้ล้ว กว่า 28 ล้านเหรียญฯ ครับ
ส่วนคนอื่นๆใช้เ้ิงินไปแ้ล้วรวมกัน 17 ล้านเหรียญฯ
ยอดของรีพับลิกันใช้เงินไป รวมแล้ว 128 ล้านเหรียญฯ หรือ 4224 ล้านบาทไทย

นี่แค่รณรงค์หาตัวแทนของพรรคนะครับ ยังจะมีรอบศึกชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เหมือนทำศึกซุปเปอร์โบวล์แหละ

เงินสะพัดจริงๆ แต่ผมไม่รู้ว่า ที่อเมริกาเนี่ย มีมือปืนรับจ้างแบบบ้านเรารึป่าว

1 Comments:

At Monday, March 09, 2009 6:04:00 PM, Anonymous Anonymous said...

ขอบคุณมาก ๆ นะค่ะสำหรับบทความดีๆ

 

Post a Comment

<< Home