Thursday, June 26, 2008

แอบฮา

เกาะติดอภิปรายไม่ไว้วางใจวันที่ 3

นี่ก้ล่วงเข้าวันที่สามไปแล้วนะครับ
สถานการณ์ของรัฐบาลของ ฯพณฯซ่าหมัก ก็ยังลุ่มๆดอนๆ
โดนถล่มไปหลายดอก
เริ่มต้นที่คุณไตรรงค์ สุวรรณคีรีและพวก เรียงคิวขย่ม เจ๊มิ่ง จนเละเทะ
ทั้งปัญหาราคาหมู ราคาปุ๋ย ราคาข้าว

“เราอาจใช้มาตรการในการแก้ปัญหาระยะสั้นไปแก้ปัญหาระยะยาว เราอาจใช้วิธีการแก้ปัญหาระดับเล็กที่เรียกว่า micro problem เอาไปแก้ปัญหา macro problem ที่เป็นปัญหาระดับชาติ มันใช้ไม่ได้”

“เมื่อรัฐมนตรีพาณิชย์ประกาศว่าจะนำข้าวในสต๊อก 2.1 ล้านตัน มาทำข้าวราคาถูกทำให้เกิดความคาดหวังในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติชะลอคำสั่งซื้อเพื่อรอให้ราคาต่ำลง”

“วิธีนั้นมันใช้ได้ถ้าตลาดเป็นของผู้ซื้อ แต่ช่วงนั้นมันเป็นตลาดของผู้ขาย เพราะสินค้าไม่มี ท่านควรจะรู้ว่า ความไม่รู้มันสร้างความเสียหายได้ แสดงถึงความอ่อนด้อยและสติปัญญาในการทำงาน”

เรียกว่างัดตำราสอนเศรษฐศาสตร์ให้กับนักการตลาดอย่างเจ๊มิ่ง

นอกจากเจ๊มิ่งแล้ว หมอเลี๊ยบ ก็ยังโดน ดร.สามสีอัดเอาอีก
ว่ายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐศาสตร์ เพราะไปพูดกับต่างชาติว่าปัญหาของประเทศไทยคือความไม่สมดุล เพราะไปพึ่งการส่งออกมากถึง 70% ส่วนที่เหลืออีกกว่า 20% เป็นการบริโภคภายในประเทศ

โดนไปเยอะครับ
จริงเท็จแค่ไหน ถูกต้องตามทฤษฎีหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ก็คงจะได้ไปวิเคราะห์ไต่ตรองกัน

ส่วนเรื่องประท้วงวันนี้ล่ะผมชอบจริงๆ
เพราะว่า นอกจากข้อบังคับ 61,63 แล้ว วันนี้ยังมีข้อบังคับข้อที่ 8 โผล่มาด้วย
ผู้ประท้วงบอกว่า "จริงๆผมไม่อยากให้เสียบรรยากาศ เลยประท้วงเมื่อ ดร.ไตรรงค์พูดจบแล้ว ว่า นายไตรรงค์ไม่ติดบัตรประจำตัว"
เป็นเกียรติเป็นศรีแก่สภามากกกกกกกกกกก

นอกจากนี้ขาเก่าเจ้าประจำ อย่าง ทั่น ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ก็กลัวจะน้อยหน้า หลังจากทำประตูเรื่อง ยศนายใหญ่ กับ เรื่องมือซ้ายไม่เหมาะสมแล้ว ก็ยังมีเรื่องเห็นฝ่ายค้านเอามือล้วงกระเป๋า
วันนี้ท่านก็ ออกมาบอกว่า
"รับโทรศัพท์จากวัฒนธรรมจังหวัด 3 ท่าน ว่าสิ่งที่ผมทำไปน่ะ ทั้งเรื่องมือซ้าย เรื่องมือล้วงกระเป๋าน่ะ ถูกต้องดีงามแล้ว"
พ่อคุณเอย....ช่างขยันไม่หลับไม่นอน ขอให้เจริญๆ

ผมก็เข้าใจล่ะว่ามันดีงาม เรื่องล้วงกระเป๋า แต่เรื่องมือซ้ายที่ว่ายกแล้วไม่สุภาพนี่ คนถนัดซ้ายคงจะเคืองมิใช่น้อย
เอาว่าลูกเสือที่ไม่จับมือขวา ยื่นซ้านมาจับมือกันมั่น มีหวังประท้วงท่านแน่ (ฮา)

สถานการณ์ตอนนี้ไฟดับพรึ่บ ไปแล้ว
ก็ยังคงอภิปรายกันต่อไป

ผมยังเฝ้าดูไฮไลต์คืนนี้ เหลิมกับเทพเทือก
ใครจะตาย ไ
อ้ปื๊ด จะมาหรือไม่
จะมีภาษาอังกฤษ yes no ok coca-cola โผล่มามั๊ย
มันส์พะยะค่ะ


Wednesday, June 25, 2008

60 ปีเศรษฐศาสตร์ มธ. การกลับมาอีกครั้งของ "ชุมทางเทคโนแครต"

60 ปีเศรษฐศาสตร์ มธ. การกลับมาอีกครั้งของ "ชุมทางเทคโนแครต"

14 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุครบ 59 ปีเต็ม ช่วงเวลานับจากนี้กำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 60 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชื่อชั้นของคณะนี้ไม่ได้เป็นแต่เพียงคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย แต่ยังเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้เศรษฐกิจ และอาจจะเรียกได้ว่าครั้งหนึ่ง ที่นี่เคยเป็น "ชุมทางของเทคโนแครต" ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าในระยะหลังๆ บทบาทในลักษณะนี้ จะลดลง

รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนปัจจุบันที่นั่งอยู่ในตำแหน่งนี้มา 2 ปีกว่า ก็ยอมรับว่า "สมัยก่อนคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ถือเป็นขุมความรู้และเป็นแหล่งองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจไทย เช่น ถ้าใครอยากรู้เรื่องการกระจายรายได้ ปัญหาความยากจน ต้องมาคุยกับ เมธี ครองแก้ว ใครอยากรู้เรื่อง การคลัง ต้องมาหา ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ใครอยากรู้เรื่องเกษตรต้องมาหา ดร.อัมมาร สยามวาลา ฝรั่งถ้าจะทำวิจัยต้องมาที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นไอเอ็มเอฟ หรือเวิรลด์แบงก์ เรื่องว่าเมื่อก่อนหัวบันได คณะไม่เคยแห้ง แต่ตอนนี้แห้งหมดเลย"

ทั้งๆ ที่วันนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ถือเป็นคณะที่อาจารย์ที่จบปริญญาเอกในสัดส่วนถึง 64% จากจำนวนอาจารย์ทั้งหมด 84 คน อะไรจึงทำให้เกิดภาวะเช่นวันนี้

รศ.ดร.นิพนธ์บอกว่า "ที่เป็นอย่างนี้เพราะเรามัวไปทำมาหากิน ซึ่งเป็นปัญหาของวงการวิชาการทุกแห่งไม่ได้เป็นเฉพาะคณะเศรษฐศาสตร์ และกลายเป็น วิกฤตอุดมศึกษาไทย ปัญหาของเราคืออาจารย์รับจ้างทำงานวิจัยให้กับหน่วยราชการมาก เป็นลักษณะของการเป็นที่ปรึกษา ทำให้ไม่มีเวลาที่จะทำงานวิจัย เพื่อการเรียน การสอน รวมไปถึงงานวิจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ"

ขณะที่อีกปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กันคือ จำนวนนักศึกษาที่กำลังลดน้อยถอยลง

"การที่มหาวิทยาลัยต่างๆ แข่งขันกันจัดโครงการปริญญาโท เอก ให้ปริญญาง่าย คุณภาพต่ำ ทีนี้พอเราไม่ยอมปรับลดในแง่คุณภาพ แถมต้องใช้เวลาเรียนปริญญาโท 3 ปี ที่อื่นเรียนกันปีเดียวและเรียนจบยาก ทำให้เด็กเก่งๆ หนีไปเรียนที่อื่นหมด เพราะ เมื่อจบออกมา ก.พ.ก็ตีค่าปริญญาเท่ากัน"

ปัญหาเรื่องนี้กลายเป็น 2 เรื่องหลักๆ ที่ทำให้คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าถึงเวลาต้องปรับตัวและ "ปฏิรูป" ครั้งใหญ่ ทั้งในแง่ของหลักสูตรและบริการวิชาการ

การปรับส่วนแรก คือ การมุ่งผลิต นักวิจัยด้วยการพัฒนาหลักสูตร "เศรษฐศาสตรบัณฑิตที่เชื่อมต่อมหาบัณฑิต หลักสูตร 5 ปี" ในปีการศึกษา 2551 โดยเป็นการเชื่อมโยงหลักสูตรปริญญาตรี โดยลดจำนวนหน่วยกิตลงให้สามารถเรียนปริญญาตรีได้ในระยะเวลา 3 ปีครึ่ง และเรียนต่อปริญญาโทได้ในระยะเวลา 1 ปีครึ่ง โดยแบ่งออกเป็นบันได 3 ขั้น ขั้นแรก คือ ปริญญาตรี 3 ปีครึ่ง (silver) ขั้นที่ 2 ปริญญาตรีก้าวหน้า เรียน 4 ปี (gold) และขั้นที่ 3 ได้ปริญญาโท โดยเรียน 5 ปี (platinum) ซึ่งจะเน้นในเรื่องการวิจัย

รศ.ดร.นิพนธ์อธิบายว่า "หลักสูตรนี้จะต่างจากหลักสูตร 5 ปีของคณะบัญชี ที่เด็กต้องลงในโปรแกรมมาตั้งแต่ต้น แต่ของเราเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสเรียน โดยมีทางเลือกให้ 3 ระดับ ถ้าใครเก่งก็มีโอกาสได้เรียนในโปรแกรม 5 ปี ได้ปริญญาตรีและโท โดยจะมีการเลือกตอนปี 2 และถ้าเรียนเก่งมาก เราก็มีทุนการศึกษาให้อีก ผมว่าวิธีนี้จะช่วยดึงเด็กเก่งๆ ให้มาเรียนกับเราได้มากขึ้น"

"การที่เราเน้นวิจัยเพราะเรามองว่าประเทศต้องมีความต้องการนักวิชาการ รุ่นใหม่ คนกลุ่มนี้พอเรียนจบสามารถไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และจะกลับมาเป็นนักวิจัย เป็นอาจารย์ เป็นคนกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ"

และหลังจากโครงการนี้เป็นรูปเป็นร่าง ก็จะพัฒนาไปสู่การพัฒนาหลักสูตรปริญญาเอก ซึ่งปัจจุบันมีคนเรียนเพียงปีละ 3-5 คน ซึ่งในอนาคตจากการปรับตัวของคณะ เชื่อว่าจะทำให้มีนักวิจัยมากขึ้นและพอเพียงที่จะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณนักศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ตั้งเป้าไว้ว่าอย่างน้อยต้องผลิตให้ได้ 15 คนต่อปี

การปรับส่วนที่ 2 คือ เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งมี 2 โครงการใหญ่ โครงแรก คือ การเปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านการค้าระหว่างประเทศ (นิติเศรษฐศาสตร์)

"เรามองว่าเป็นความจำเป็นและมีความต้องการคนแบบนี้มาก เพราะการค้าวันนี้มีกฎระเบียบทางการค้ามาก จึงต้องรู้ทั้ง หลักกฎหมายและหลักเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรสหวิทยาการ ที่แท้จริงอันแรกของประเทศ เราไม่ได้ทำเป็นแบบคอนโดฯอย่างที่คนอื่นทำ โดยคนสอนเศรษฐศาสตร์คนหนึ่ง คนสอนนิติศาสตร์คนหนึ่ง แล้วคิดว่าเด็กจะสามารถประยุกต์องค์ความรู้ร่วมกันได้เอง แต่ในหลักสูตรที่เรากำลังพัฒนาและคาดว่าอาจจะเสร็จในปี 2551-2552 คือเราจะผสานความรู้ทั้ง 2 ด้านเข้ามา โดยแต่ละวิชาจะมีอาจารย์จากทั้งนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์มาร่วมกันสอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายจึงอาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาเครื่องมือในการสอนระยะหนึ่ง"

โครงการที่ 2 เป็นการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ โดยจะแบ่งกเป็น 3 ส่วน ส่วนหลัก คือ หลักเศรษฐศาสตร์ แต่ในอีก 2 ส่วนที่เหลือจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม และการประเมินโครงการ โดยจะแล้วเสร็จในปี 2552

"การออกแบบหลักสูตรจะเป็น ReadyMade คือเป็นเครื่องมือที่พร้อมใช้ในทันที และโมดูลต่างๆ ที่ให้นักศึกษาเลือกก็จะปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทย"

อย่างไรก็ตามการปรับตัวครั้งนี้จะเป็นไปได้อย่างที่ตั้งใจไว้ สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญมากคือการดึงอาจารย์กลับมาทำงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย แต่นับเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณรายรับประมาณราว 200 ล้านบาท โดยในปี 2550 มีรายรับเป็นงบประมาณ 209.6ล้านบาท แต่ 75% เป็น รายได้ที่คณะหารายได้เอง ส่วนอีก 25% ที่เหลือมาจากงบประมาณภาครัฐ และ จึงเป็นที่มาของโครงการ "60 ปี 60 ล้าน" ในการระดมทุนจากศิษย์เก่าและภาคเอกชนเพื่อจะนำมาพัฒนาคณะ โดยเฉพาะการพัฒนาซอฟต์แวร์ในวาระที่ต้องย้ายหลักสูตรปกติทั้งหมดไปอยู่ที่วิทยาเขตรังสิต ภายในปี 2551

การนำคณะเศรษฐศาสตร์กลับมาผงาดอีกครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องง่าย !!


หน้า 31

ที่มา : http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02edu01190651&day=2008-06-19§ionid=0222

ส.ส.รัฐบาล ห่วยแตก

ผม ชอบ ลีลาการอภิปรายของ ปชป จริงๆ
มันหยด ได้อารมณ์
น่าจะได้เป็นฝ่ายค้านไปตลอด (อ่าว)

เมื่อวานนั่งฟังไปก็ตลก และสมเพช ส.ส. รัฐบาล
มีทั้ง มือใหม่หัดประท้วง และ นักประท้วงมืออาชีพ

"ทั่นประธานที่เคารพ กระผมขอประท้วง จริงๆกระผมก็ไม่อยากประท้วงนะครับ" --> แต่ที่เมิงกำลังทำ เค้าเรียกว่าประท้วง

การประท้วง เป็นการใช้สิทธิตามข้อบังคับ ข้อที่ 61,63 (ฟังจนจำได้)
แต่การประท้วง ก็เป็นกลยุทธของ ส.ส. หรือ องครักษ์พิทักษ์นาย ในการสกัดอารมณ์ของผู้อภิปราย
คิดดูสิ เครื่องกำลังติด อภิปรายกำลังจะได้เนื้อหนัง เจอเบรก ซะงั้น มันหมดอารมณ์นะทั่นนา

ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ประท้วงอะไรกัน

เมื่อวาน ...ส.ส.ฝ่ายค้าน อภิปราย พาดพิง แม้ว ก็เอ่ยชื่อ
"ท่านอดีตนายกทักษิณ" ว่า "ท่านทักษิณ"
ทหารตัวนายคนหนึ่ง ลุกขึ้นประท้วงเลย "ท่านประธานครับ เรียกท่านทักษิณไม่ได้ ต้องเรียกว่า
--พะนะท่าน-พันตำรวจโท-ด็อกเตอร์-ทัก-สินชิน-นะ-วัด--
งี่เง่าเป็นที่สุด ทหารตัวนายคนนั้น เป็นส.ส.สัดส่วน เศร้า

อีกประเด็น...ส.ส. ปชป อภิปรายไปมา ก็พูดถึง "ลิง" (ข้อนี้ผมไม่ทราบว่าเปรียบเทียบกันว่ายังไง)
ท่าน ส.ส. ผู้ทรงเกียรติ จาก ลพบุรี ลุกขึ้นประท้วง
บอกว่า "ลิง บ้านผมเดืดดร้อน"
กรูจะบ้าตาย สงสัยถ้าท่านไม่ลุกขึ้นประท้วง ลิงศาลพระกาฬจะไม่เลือกทั่นสมัยหน้ามั้ง
อ่าว แล้วยังงี้ ส.ส.เพชรบุรี ไม่ต้องประท้วงกันต่ายห่าเหรอ ลิงเขาวังก็มีนะอย่าลืม

อีกเรื่องที่บ้าบอมาก
ส.ส. ฝ่ายค้าน (บุญยอด) ยกมือขอพูด
ก็ส.ส.สัดส่วนคนเดิม ยกมือประท้วงเลย
บอกว่า "ส.ส.ฝ่ายค้าน ยกมือซ้ายครับทั่นประธาน ไม่เหมาะสม"
ส.ส.ไทย พวกเมิงมันปัญญาอ่อน
เสียภาษีที่จ่ายให้พวกท่านเสวยสุขจริงๆ พับผ่าสิ

ส.ส.

Tuesday, June 24, 2008

เฮ้อ..นายกสวรรค์เบี่ยง

วันนี้ พรรคฝ่ายค้าน ระดมพลถล่ม ขย่ม ทั้งท่านนายกฯ และท่านนพดล
โดนกันไปถ้วนหน้า

พรรค ปชป ขุดประวัติศาสตร์มาตีแผ่
ท่านายก ก็ตั้งแง่ว่า พวกท่านเกิดไม่ทัน 2505 จะรู้อะไร
เจอฝ่ายค้านสวนว่า ยิ่งเกิดก่อน 2505 ตั้ง 29 ปี น่าจะรู้ถึงความเจ็บปวดของการเสียดินแดน เล่นเอาอึ้ง

ท่านนายกฯ ก็ไม่ได้ชี้แจงอะไรมากมาย พยามยามเบี่งประเด็น ไปเรื่องนู้นเรื่องนี้
ชวนทะเลาะ กันไป
เป็นเรื่องที่นายกของไทยคนนี้ถนัดนัก
ผมฟังมา ก็ไม่เห็นว่า นายกฯ จะชี้แจงอะไร ก็ได้แต่ฟาดงวง ไปมา

ตอนนี้ กำลังฟัง ทั่น รมต. ชี้แจงเรื่องปราสาทพระวิหาร

แต่....ก่อนหน้าที่ ปชป. จะอภิปรายนั้น

อธิบดีกรมสนธิสัญญา โดนเด้ง
ปลัดกระทรวงเขียนบันทึกหรือจดหมาย เรียกร้องให้ ขรก.กระทรวง ตปท. เอาเยี่ยงอธิบดีกรมสนธิสัญญา
ถัดมา ท่านนพดล ก็ไปลงนามกับกัมพูชา
จากนั้น สถาบันไทยคดีศึกษา มธ. ออกมาคัดค้าน
แล้ว อ.อดุล วิเชียรเจริญ ก็ออกมาคัดค้าน
วันนี้เอง อ.อดุล โดนปลดจาก ประธานกรรมการมรดกโลก

ใครขวางโดนหมดเลยยยยยย

Wednesday, June 11, 2008

เขื่อน การพัฒนาที่เจ็บปวด

ข่าวหนังสือแทบทุกฉบับ พาดหัว เรื่อง นายกฯหมี หนุนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น พร้อมอัดเอ็นจีโอ

ชาวบ้านแถวนั้น ก็ออกมาท้านายกฯหมี ให้มานับต้นสักทองกัน

กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นนี้ กลายเป็น กรณีศึกษาอันคลาสสิกยิ่ง
เพราะว่า ยืดเยื้อ มานานโข ไม่สามารถหาข้อสรุปได้

มีการศึกษาของ TDRI ก็พบว่า ไม่คุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์

การศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก

ก็ยังจะหน้าด้านสร้างกันอีก

ไม่ใช่แต่กรณี แก่งเสือเต้น เท่านั้นครับ
กรณี เขื่อนอื่นๆ ก็เช่นกัน

การสร้างเขื่อนขึ้นมา ก็มักจะอ้างเหตุผล เรื่องใหญ่คือเรื่อง ชลประทาน เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
ตอนผมเป็นเด็ก ในตำราเรียนก็มีแต่ ใส่ผลดีของเขื่อนเอาไว้ ว่า
เก็บกักน้ำได้ ผลิตไฟฟ้า เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งประมง
แต่ละเลย ที่จะเขียนถึงผลกระทบด้านอื่นๆ เด็กไทยหรือคนไทยก็เลย คิดว่าเขื่อนคือพระเจ้าจะแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม เรื่องขาดน้ำได้

ผมก็ไม่เถียงล่ะ ว่า เขื่อนให้ประโยชน์ อย่างที่ว่ามา
แต่กว่าจะเป็นเขื่อนได้ ต้องแลก หรือ เสียอะไรไปมากมาย

ยกตัวอย่าง เขื่อนลำตะคอง สร้างมา ก็เพื่อการชลประทาน แต่มีบางปีที่ฝนไม่ตก ก็ไม่รู้จะไปเอาน้ำจากไหนมากักเก็บ

กว่าจะเป็นลำตะคองนั้น ต้องเสียพื้นที่ทำกินของคนไปเยอะ คนเหล่านั้นก็ต้องไปหาที่ทำกินใหม่ ก็ยังดีที่สมัยนั้น ไม่ได้มาร้องแรกแหกกระเฌอ เพราะว่ายังพอหาที่ทำกินกันได้
แต่ว่าถ้าเป็นสมัยนี้ล่ะ ก็ยากที่หาที่ทำกินใหม่

แต่อย่างเขื่อนป่าสักฯ เมื่อเริ่มสร้าง ก็มีปัญหาเรื่องการย้ายที่ทำกินของคน คนไม่ยอมย้ายออก ก็ลองคิดถึงใจเขาใจเรา จู่ๆจะให้เค้าย้ายจากที่ทำกินที่อยู่มาตั้งแต่ปู่ย่า เรียกว่า พ่อกูอยู่ ปู่กูตาย อยู่ตรงนี้
ใครจะไปย้ายฟะ ยื้อกันมานาน แต่...
ด้วยเหตุผลบางประการ
เหตุผลของพวกนิยมเจ้า ก็จะบอกว่า ด้วยพระบารมีปกเกล้า
เหตุผลของพวกไม่เอาเจ้า ก็จะบอกว่า ด้วยอำนาจ บลา บลา ว่าไป
คนเหล่านั้นย้ายออกไปโดยดี
การสร้างเขื่อน ก็เสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี

นอกจากปัญหาที่ทำกิน ซึ่งพื้นที่หายไป ไม่รู้กี่แสนไร่ บ้านของคน บ้านของสัตว์

ความเสียหายทางนิเวศวิทยา เช่น การสูญพันธ์ของปลาบางชนิด อย่านึกนะครับว่า เขื่อนจะเป็นแหล่งประมง ถูกต้องที่เขื่อนคือแหล่งน้ำ แต่พอเมื่อสร้างเขื่อนแล้ว ปลาบางชนิดไม่สามารถว่ายทวนน้ำไปวางไข่ต้นน้ำได้ เพราะว่าเขื่อนขวางไว้
เขื่อนบางที่ สร้างภาพบอกว่าสร้างบันไดปลาโจน
ปลามันโจนได้ สี่ห้าขั้น ก็หอบแล้ว

พ่อผมเล่า สมัยก่อนสร้างเขื่อน ลำตะคอง มีปลาตัวใหญ่ ปลาที่ผมไม่เคยได้ยินชื่อ กินกัน จับกัน เยอะมาก แต่พอสร้างเขื่อนแล้ว จำนวนปลาก็ค่อยๆลดลง จนไม่มีแล้ว

นี่คือตัวอย่างความสูญเสีย ซึ่งมันอาจจะไม่อยู๋ในสายตาผู้บริหารบ้านเมือง
แต่เป็นความสูญเสียที่ เราไม่สามารถเรียกกลับคืนได้แล้วนะครับ


Monday, June 09, 2008

โดน แถก ทีเชิร์ต (Tag T-Shirt)

จู่ๆ ก็โดน แถก ซะงั้น

เอาล่ะมาดูเลยดีกว่า ว่าผมใส่อะไรบ้าง

Figure 1.1
T-Shirt

เเบ่งเป็น สองกลุ่ม คือ สีแดง กะ สีขาว ครับ

สำหรับเสื้อสีแดงนั้น ผมยึดสุภาษิตว่า ถูกแพงเอาแดงไว้ก่อน
เพราะว่าเสื้อแดงนั้นเวลาใส่แล้วจะดูเด่นแลเห็นไกล เกือบสุดใต้ของประเทศเขตพรมแดน กันเลยทีเดียว
เสื้อแดง ไม่เกี่ยงว่าจะมียี่ห้อป่าว
อย่างใน Figure 1.2 นี้ ก็มีแบบ มียี่ห้อหรือไม่มีเลยก็ได้ บางตัวซื้อมาจาก โลตัสก็มี

Figure 1.2
Red Color T-Shirt
แน่นอน เสื้อแดงอีกอันที่ชอบใส่ คือ เสื้อเชียร์ นับว่าโชคดี ทีอยู่มธ.
แต่ว่า มีสองปี ที่เสื้อเชียร์เป็นสีเหลือง เบื่อเลย

Figure 1.3
Red Color T-Shirt (2)




ใช่ว่าจะมีแต่สีแดงนะครับ เสื้อยืดสีขาวผมก็ชอบใส่ โดยเฉพาะพวกเสื้อแจก เสื้อแถมนี่ชอบมาก เพราะว่า ไม่ต้องถนอมมาก ใส่เปื้อนยังไงก็ได้

Figure 1.4
White Color T-Shirt


จาก Figure 1.4 จะเห็นว่า ตัวซ้ายเป็น เสื้อแจกครับ มีเต็มบ้านแล้วก็เป็นแบบนี้หมด คือสีขาวสกรีนแดง ใส่นอน จะเห็นใส่เฉพาะเวลาอยู่บ้าน
ส่วนอันกลางนี่เพิ่งได้มา แถมจากทรูวิชั่น
ส่วนอันขวามือ เค้าให้มา เป็นเสื้อแถมจากฮอนด้าครับ

Figure 1.5
White T-Shirt (2)


รูป 1.5 ตัวขวานั้นซื้อเองครับ ตอนนี้ก็คงจะตกเทรนด์ไปแล้ว แต่ตอนนั้น จำได้ว่าใส่ตัวนี้แหละ เข้าคูหาเลย ส่วนตัวขวานั่น ตอนนั้นหนังเรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์กำลังดังครับ อิอิ


เอาละ คงพอเห้นภาพแล้วครับ

ว่าผมไม่ได้แก้ผ้าอยู่บ้านนะ

งั้นก็ขอ Tag ต่อไปให้เพื่อนๆคนอื่นๆบ้าง
เป็นเพื่อน

1. เพื่อนทิว http://nutun.multiply.com/

2. เพื่อนเตย http://pajch.multiply.com/

3. เพื่อนผัก http://golffygo.multiply.com/

4. น้องแพนดอร่า (อยากอัพแต่ DBSK ดีนัก จะได้ทำอย่างอื่นบ้าง) http://pkpanpan.multiply.com/

5. พี่สาวจุง http://bufjung.multiply.com/ (จะได้เห็นขุมสมบัติเธอ)


ด้วยกติกาเดิม คือ

1. ไม่จำกัดจำนวนเสื้อยืด มีแค่ไหนเอาแค่นั้น

2. ไม่จำกัดวิธีการนำเสนอ

3. ควรให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม

4. ให้เวลาไม่เกิน 3 วัน