Thursday, May 29, 2008

ABSTRACT

ABSTRACT

The main purpose of this study is to assess the impact of water pollution in the Lamtakong River, Muang district, Nakhon Ratchasima, in terms of damage cost (TDC) on human health, water consumption, and agricultural production. Total abatement cost (TAC) of wastewater treatment plant of Muang Municipality is calculated as well. Moreover, this study estimate the total external cost (TEC) which is the summation of TDC and TAC in order to roughly estimate Green GPP of Nakhon Ratchasima.

TDC is calculated from damage cost to human health, water consumption, and agricultural production. In 2006, the damage cost to human health is about 5.2 million baht, the damage cost to water consumption is 457,788 baht, and the damage cost to agricultural production is 2,152,584 baht per year. Thus, TDC due to water pollution is calculated about 7.85 millions baht. Nevertheless, TDC could be under-estimated because this study focuses on only three aspects. There are still other pollutions which are not included, such as damage on fisheries. TAC is calculated about 42.7 million baht in 2006. Thus, TEC of water pollution is calculated about 50.5 million baht in 2006.

This study applies the TEC to adjust gross provincial product (GPP) according to the concept of Green GPP. Green GPP is defined as the conventional GPP minus TEC. Green GPP in 2006 is about 134,859 million baht. Thus, TEC is calculated 0.04% of Nakhon Ratchasima GPP in 2006. However, the estimated Green GPP would be under-estimated. If all damages (caused by water pollution or other pollutions) are measurable, TEC would be higher, and Green GPP would be smaller.

ขอขอบคุณทุกท่าน

Acknowledgement


Successful completion of this thesis would not have been possible without the assistance, encouragement and the gracefulness of many people. I would like to express my deepest thanks and gratitude to them.

Firstly and foremost, I am grateful to Assoc. Prof. Niramon Sutummakid, my advisor who has not only inspired me to select the environmental topic, but also provided invaluable suggestion, comprehension, encouragement, concentration, and untiring supervision throughout every chapter of my thesis. I also would like to thank my thesis committee, Assoc. Prof. Yuavares Tubpun and Asst. Prof. Euamporn Phijaisanit who gave helpful comments and suggestions.

I would like to show appreciation to the Diethelm Co., Ltd. for granting me two-year scholarship throughout the course of the MA Program.

I would like to thanks for great facilitate of Mr. Buncha Wisatemongkolchai, Deputy Director of Mahachai Hospital; Mr. Rungsun and Mrs. Supranee Intarachathorn; Mr. Chartchai and Mrs. Chumsri Kanatiyanont; Archan Kanlaya Sakunkeaw of Nawamintrachinutit Bodindecha School; Dr.Napat Noinamsai of Nakhon Ratchasima Rajabhat University; Mr. Noi; Mr. Singtoh and his basset hound.

I am very thankful to Muang Nakhon Ratchasima Municipality officers: Mayor; Director of Waterworks Office; Ms.Wantanee Himman-ngan; Mr. Rachan Teerapittayatrakul for great help in data collection.

I would like to give thankfulness to Director of Maharat Hospital; Mr. Mungkorn Ungsanant, Head of Social Welfare Department; Ms. Mathuros Chaiworaporn, Head of Clinical Pathology Department; Ms. Ajchara, Head of CCU ward; and Ms. Temsiri. I also thank to Director of Sikhiu Hospital; Ms. Warunee Eawchai; and all officers of Nakhon Ratchasima Public Health Office, especially, Khun Poo.

Special thanks to Mr. Prasert Karnchanakiartkul, researcher of Nakhon Ratchasima Agricultural Office, who recommended me to use the GIS. And thanks to all of the villagers for your kindness in survey.

Thanks to my helpful and lovely friends who always give me a cheerfulness: P’Tao, P’Kai, P’Air, P’Witt, P’Ton, P’Pui, BoBo, P’Pick, P’Mai, P’9, Archan Chol, Namtip, Golf, Poon, Aim, Champ, Lop, Him, Jeaw, Am, Rung, Lotto, Pan, and all members of Kor1 Family, especially, Netty.

I deepest indebted my beloved family: my dad and my mom for their love and money supporting. Thanks to my sister (Jung) and all of my relatives for their warm welcome in weekly activities.

Last but not least, there are other people who have contributed to this work whom I cannot mention here. I would like to thanks to all of them.

Finally, any deficiencies in this thesis are my responsibility.

Thammasat University Supawat Sukhaparamate

Bangkok, Thailand May 2008


Tuesday, May 20, 2008

โอ้เสียงปี่พระอภัยไม่สิ้นมนต์

ข่าวการขโมยปี่ ของพระอภัยมณี ที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ อำเภอแกลง เป็นที่สะเทือนใจของชาวบ้านร้านตลาดแถวนั้น
เรียกว่าแช่งชักหักกระดูกคนขโมยกันเลยทีเดียว

เรื่องก็มาจบแบบ แฮปปี้ เอนดิ้ง คือพบ ปี่พระอภัยในกองขยะแล้ว
พระอภัยมณีก็คงไม่เหงานิ้วแล้ว

(นึกภาพไม่ออกว่า เวลาข่าวนี้ออกไปต่างประเทศ ฝรั่งจะเข้าใจมั๊ยว่า ว่าปี่หาย ถึงต้องขึ้นหน้าหนึ่งด้วย)


แต่ผมมาขัดหูอยู่หน่อยตรงที่ ผู้วิเคราะห์ข่าวหลายท่าน พยายามจะสื่อว่า
ที่อ.แกลง นี่เป็นบ้านเกิดของมหากวีสุนทรภู่
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่

สุนทรภู่นั้น เป็นชาววัง นะครับ
สุนทรภู่ นี่เกิดแถววังหลัง ซึ่งก็คือ สถานีรถไฟบางกอกน้อยไปปัจจุบัน
ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ต้องบอกว่า สุนทภู่นั้น มิใช่เด็กบ้านนอกคอกนา เป็นเด็กกรุงเทพนาเฟ้ยยย (จริงๆต้องบอกว่า เป็นคนฝั่งธน สินะ)
ได้รับการศึกษาจากสำนักดังอีกด้วย

คนอาจจะติดภาพจาก นิราศเมืองแกลง ว่าสุนทรภู่ไปหาบิดา
อาจจะติดภาพจาก พระอภัยมณี ที่(สันนิษฐานว่า) สุนทรภู่เลือกเอาเกาะเสม็ดเสร็จทุกรายมาเป็นโลเกชั่น

นานๆไป อาจจะเข้าใจผิดกันได้ว่า สุนทรภู่ เป็นคนระยอง
เพราะว่า ตามประวัติจริงๆ สุนทรภู่ ก็อยู่ระยองแบบนับวันได้

กลับมาพูดถึงเรื่องปี่ พระอภัยมณีกันบ้าง
นิทานเรื่องพระอภัยมณีนี่ ยาวมาก แต่ว่าสุนทรภู่ไม่ได้แต่งแบบรวดเดียวจบ
แต่ก็ไม่ได้เป็น เจ็ดภาค แบบ แฮรี่ พอตเตอร์ นา

พระอภัยมณีเป็นเรื่องมหัศจรรย์และออกจะแหวกจารีต ที่พระเอก ไมไ่ด้ถือดาบ แต่ดันมีปี่เป็นอาวุธ
พระอภัยมณีไปเรียนวิชาเป่าปี่ มาจากสำนักไหนไม่ทราบ
(นึกถึงเรื่อง ซีชั่นเชนจ์ แต่รายนั้น ตีกลอง)


และปี่ของพระอภัยมณีนี่เอง ที่เสนาะหูพลิ้วกังวาน มีอำนาจสะกดให้หลับไหลไปได้ แล้วก็ที่มาของเรื่องราวต่างๆ

พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม

จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป

ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์

ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช

จตุบาทกลางป่าพนาสิน

แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน

ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา

ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ

อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา

ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญา

จะนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

แต่ว่าพอนางผีเสื้อสมุทรได้ยินแว่วๆ ดันไม่หลับ ก็แปลกนะครับ แต่ว่าคงพอเคลิ้มๆ เลยตามมาดู พอแลเห็นพระอภัยก็เกิดใจคิดพิสวาส อุ้มพระอภัยฯ ไปทำสามีซะเลย

ก็เลยกลายเป็นที่มาของเรื่องราวต่างๆมากมาย
เสียดายที่ปี่พระอภัยฯ มีบทบาทอยู่ตรงที่ เป่าให้นางยักษ์อกแตกตายเท่านั้น

จากนั้นบทบาทของเรื่องไปอยู่ที่ สุดสาคร ขโมยซีนกันเห็นๆ
แล้วพระอภัยฯ ก็ไม่่ค่อยได้ใช้ปี่ มาเป่าโชว์เท่าไร มีบ้างก็ประปรายไม่เด่น

นั่นก็เพราะว่า สุนทรภู่คงไม่ได้วางพล็อตไว้ล่วงหน้า
นึกคิดเอาแบบสดๆ
แต่จะยังไงเสียกระบวนกลอนของสุนทรภู่ ก็เป็นสุดยอดต้นแบบ ของกวีในยุครัตนโกสินทร์กันแทบจะทุกทั่วตัวคน

ผมเลยจะขอแอบเอากลอนที่ ผมไม่ได้แต่ง แต่ว่า เป็นของอาจารย์ภาษาไทยของผม
ชื่อ อ.ดวงพร หลิมรัตน์
อาจารย์แต่งไว้ ให้ผมอ่านหน้าเสาธง วันสุนทรภู่ ก็ตั้งเกือบสิบปีมาแล้วนะ (คิดว่าน่าจะสิบปีแล้วล่ะ) ลองอ่านกันดู แล้วอีกเดือนเราคงได้พบกันในวันสุนทรภู่ 26 มิ.ย. 2551

บนในลานจารพระคุณสุนทรภู่
บรมครูแห่งอักษรอันอ่อนหวาน
ดุจดั่งน้ำผึ้งรวงจากดวงมาน
หยาดหยดผ่านพื้นพิภพจบแดนดิน

จากนิราศเก้าเรื่องแฝงเคืองขัด
กรรมตามซัดล่องนาวาชลาสินธุ์
รักแล้วร้างเสน่หาน้ำตาริน
มิรู้สิ้นค่าล้ำคำกวี

เพลงฝากรักหวั่นไหวใจจะขาด
พิศวาสมากล้นจนเหลือที่
พลิ้วกังวานม่านฟ้าถึงวารี
โอ้เสียงปี่พระอภัยไม่สิ้นมนต์

บทเห่กล่อมเสภาถ้อยจารึก
สอนสำนึกสุภาษิตจิตคลายหม่น
คลื่นชีวิตของความหวังเหมือนวังวน
ท่านดั้นด้นจนผ่านผันวันทุกข์ใจ

บนใบลานจารพระคุณสุนทรภู่
บรมครูแห่งอักษรอันอ่อนไหว
ค่อยเรียงร้อยถ้อยภาษาแทนมาลัย
บูชาบนแผ่นดินไทยไม่รู้ลืม



Friday, May 16, 2008

คุณภาพสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาประเทศ

เมืองไทย ตื่นตัวกันพอสมควรในเรื่องการอนุรักษ์

อนุรักษ์ป่า หลังสิ้นเสียงปืนของสืบ นาคะเสถียร
รักษ์เจ้าพระยากับตาวิเศษ
ปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
และที่กำลังตื่นตัวคือ รณรงค์ลดโลกร้อน
เพื่อนผมหลายคนใน MA พร้อมใจไม่ใส่ถุง
หมายถึง ถุงพลาสติก
(แต่แถวบ้านผม เค้าเรียกว่า ถุงยางจริงๆนะ)

พฤติกรรมหรือการรณรงค์ให้คนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อยู่บ้าง

จะลองอาศัย แนวคิด ของ Kutznets ที่นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง รายได้ประชาชาติกับการกระจายรายได้


เราเรียกว่า Kutznets' Curve (KC)
โดย ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเป็น ตัว ยู คว่ำ แกนตั้งเป็น Inequality แกนนอน เป็น รายได้ประชาชาติ (income per capita)

ก็พบว่า เมื่อ รายได้ประชาชาติสูงขึ้น หรือ พูดให้ง่ายคือ คนทั้งประเทศรวยขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็จะค่อยสูงขึ้น แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง (ไม่รู้ว่าจุดไหน) ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็จะค่อยๆคลี่คลายลงไป

นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ก็เลยนำเอาแนวคิดของ KC มาปรับเป็น
EKC หรือ Environmental Kuznets' Curve

เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ กับ คุณภาพสิ่งแวดล้อม
(มองอีกนัยหนึ่งก็คือ การพัฒนาประเทศกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม)
พูดกันภาษาชาวบ้านก็คือ เมื่อเริ่มต้นการพัฒนา มนุษย์ก็จะนำเอาทรัพยากรมาใช้ จนคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงไป

แต่พอคนในปรเทศเริ่มมีอันจะกิน ก็จะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ดังนั้นคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงดีขึ้น เมื่อผ่านจุดๆหนึ่งไป (จุดวิกฤต)

กรณีเมืองไทย ถ้าไม่พิจารณา KEC คือดูแต่สถานการณ์โดยรวม ก็พอจะอนุมานได้อย่างคร่าวๆ ว่า น่าจะอยู่ช่วงจุดวิกฤต แล้ว มีแนวโน้มที่คนจะหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แต่ถ้าลองไปดูอีกมุมโลก
"การพัฒนาประเทศกับสิ่งแวดล้อมไปด้วยกันไม่ได้"
การลาออกของ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของบราซิล สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวในการจัดการกับปํญหาสิ่งแวดล้อม และการประสานประโยชน์ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย


Maria Osmarina Marina Silva Vaz de Lima
สุภาพสตรีผู้เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 1958 (2501) โตมาในครอบครัวชนชั้นแรงงาน ครอบครัวมีอาชีพกรีดยาง
ตอนเธออายุ 14 เธอรู้แค่ บวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น เพราะว่าแถวบ้านไม่มีโรงเรียน
แต่เธอก็บากบั่นจนเรียนจบปริญญา ในปี 1985 (2528) สาขาประวัติศาสตร์จาก Federal University of Acre

สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เธอมีแนวคิดไปทางมาร์กซิส เข้าร่วมกับพรรคแรงงาน
เธอได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิก และมีบทบาทในการรณรงค์ให้รักษาป่าอเมซอน อยู่โดยตลอด
จนปี 2547 เธอได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ลูล่า ดาซิลวา ให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม
เธอผลักดันมาตรการและโครงการต่างๆ ในการรักษาป่าอเมซอน รวมถึงการใช้ทรัพยากรอื่นๆ

วันที่ 8 พฤษภาคม 2551 เธอประกาศใช้แผน Sustainable Amazon Plan

(ผมก็ไม่รุ้ว่า หน้าตาแผนของเธอ เป็นยังไง)

หลังจากที่เธอประกาศ ใช้แผนนี้ไปได้ 5 วัน
13 พ.ค. 2551 เธอก็ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง
ด้วยเหตุผลว่า "เธอไม่ได้รับการสนับสนุนนโยบายสิ่งแวดล้อม"

หลังจาการลาออกของเธอ ผู้คนออกมาแซ่ซร้องสรรเสริญที่เธอลาออก เพราะว่าการที่เธอลาออกเท่ากับแผนล้ม ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น (เป็นซะอย่างนั้น)

สถานการณ์ที่บราซิล ก็สะท้อนว่า ประชาชนของบราซิลอาจจะยังอยู่ในช่วงที่ไม่มีอะไรกิน ไม่มีอะไรจะต้องถึงท้อง ยังต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากป่าอเมซอนอย่างเต็มที่เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานก็เป็นได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสนใจสิ่งแวดล้อมนะครับ